บทที่ 8 การใช้โปรแกรม Simatic Step 7

เขียนและเรียบเรียงโดย อ.นัครินทร์  คฤหาสสุวรรณ์

8.1 การสร้างโปรเจ็คและการกำหนดฮาร์ดแวร์
สำหรับ PLC รุ่น Simatic Step 7 นั้นเมื่อเราเริ่มใช้งานเราจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างของฮาร์ดแวร์เสียก่อน (Hardware Configulation) ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ไปที่เมนู File > New ตามรูปที่ 8.1
รูปที่ 8.1 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7

2. ใส่ชื่อ Project ในช่อง Name แล้วกด OK ดังรูปที่ 8.2
 รูปที่ 8.2 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
3. จะปรากฏชื่อ project บนแถบด้านบนของหน้าต่างดังรูปที่ 8.3
รูปที่ 8.3 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
4.  ไปที่เมนู Insert > Station > เลือก Station ที่ถูกต้องโดยดูจาก slot ที่ 2 ในวงกลมที่วงไว้ในที่นี้ คือ Station 300 ดังรูปที่ 8.4
รูปที่ 8.4 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
5. คลิ๊กที่เครื่องหมายบวก ที่อยู่ด้านหน้าชื่อโปรเจคท์ และ ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ SIMATIC 300(1) ดังรูปที่ 8.5
รูปที่ 8.5 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7

6. ดับเบี้ลคลิ๊ก ที่ Hardware ดังรูปที่ 8.6
รูปที่ 8.6 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
7. เมื่อ Double click ที่ Hardware แล้วจะปรากฏหน้าต่างสำหรับการ Configuration Hardware ดังรูปที่ 8.7
รูปที่ 8.7 (a) แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
Siemens PLC จะมีลักษณะเป็นการนำ Slot มาประกอบเข้าด้วยกัน ใน 1 รางสามารถมีได้ 11 slot
Slot ที่ 1 คือ Power Supply (PS) ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยง CPU และ SM
Slotที่ 2 คือ Central Processing Unit (CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลและเก็บโปรแกรม
Slotที่ 3 คือ Interface Module (IM) ใช้ในกรณีที่มีการใช้ SM มากกว่า 8 slot สำหรับการเพิ่ม SM
Slotที่ 4-11 สามารถใส่ Signal Module (SM) ทำหน้าที่เป็นอินพุทและเอาท์พุท มีได้มากสุด 8 slot
หรือ Function Module (FM)
หรือ Communication Processors (CP) ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Network เช่น Profibus
รูปที่ 8.7 (b) แสดงโครงสร้างของฮาร์ดแวร์ของ PLC รุ่น Simatic Step  7

ยกตัวอย่างเช่น มี Siemens PLC มี 7 slot
Slot แรกของ PLC เป็น Power supply นำใส่ Slot แรกของ Configuratable (Racks) โดยเลือกตัวที่มี Part number ด้านล่างเหมือนกัน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุก Slot ที่มี

รูปที่ 8.7 (c) แสดงการกำหนดโครงสร้างของฮาร์ดแวร์ในโปรแกรม Simatic
8. ลาก Rail ไปวางในพื้นที่ว่างซ้ายมือ  (หมายเหตุ: เลือก Rail ที่อยู่ใน SIMATIC 300 เนื่องจากตัวอย่างนี้ใช้ Station 300)
รูปที่ 8.8 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7

9. เมื่อได้ rack แล้วเลือก Hardware มาใส่ตาม slot ต่างๆ ให้ถูกต้อง ดังรูปที่ 8.9
รูปที่ 8.9 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
10. Station > Save and Compile และปิดหน้าต่าง HW Config ได้

รูปที่ 8.10 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7

11. เมื่อกลับมาที่ Simatic Manager และคลิ๊กที่เครื่องหมายบวกมาเรื่อยๆ จะพบ S7 Program และ Blocks ใน Blocks จะมี OB1 เพื่อใช้เขียนโปรแกรม

รูปที่ 8.11 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
12. สามารถเพิ่ม Function หรือ Function Block หรือ Variable Table โดยทำการคลิ๊กขวาที่พื้นที่ว่าง เลือก “Insert New Object” แล้วเลือกวัตถุที่ต้องการ

รูปที่ 8.12 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
13. ก่อนการ Download ให้เสียบสาย PC Adapter เข้าที่ PLC และคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบพอร์ทสำหรับ การสื่อสาร โดยที่หน้าต่าง Simatic Manager ไปที่ Options > Set PG/PC Interface


รูปที่ 8.13 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
14. เลือก “PC Adapter(MPI)” แล้วคลิ๊ก “Properties…”

รูปที่ 8.14 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
15. เลือก Tab “Local Connection” เลือก Com Port ให้ตรงกับที่ Serial Port เสียบอยู่ เลือก Transmission Rate ให้ตรงกับที่ PC Adapter ตั้งอยู่

รูปที่ 8.15 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
16. บิดสวิตช์ที่ PLC ไปที่ตำแหน่ง Run-P ทำการ Download HW Configulation

รูปที่ 8.16 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7

17. Download Program

รูปที่ 8.17 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อกำหนดโครงสร้างของ Simatic Step  7
8.2 การมอนิเตอร์ดูค่า Input และการ Force ค่า Output
1. Insert “Variable Table”
2. จะปรากฏหน้าจอ ดังรูป คลิ๊ก OK เพื่อตกลง

รูปที่ 8.18 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อมอนิเตอร์อินพุตและเอ้าท์พุต

3. จะปรากฏวัตถุ “VAT_1เพิ่ม

รูปที่ 8.19 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อมอนิเตอร์อินพุตและเอ้าท์พุต
4. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ “VAT_1
5. ใส่ Address ของอินพุทและเอาท์พุท
6. สำหรับการมอนิเตอร์ค่าอินพุต ให้กด เพื่อ online หลังจากนั้น กดปุ่ม “Monitor variables”  เพื่อมอนิเตอร์ดูอินพุท

รูปที่ 8.20 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อมอนิเตอร์อินพุตและเอ้าท์พุต

ยกตัวอย่างเช่น
ขณะนี้ I0.0 มีค่าเป็น “false” หรือ 0 หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ยังไม่มีการกดปุ่ม “START”
ในขณะที่ I0.1 มีค่าเป็น “true” หรือ 1 หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เซนเซอร์ Red ทำงานอยู่ (ดูรูปที 8.21 ประกอบ)

รูปที่ 8.21 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อมอนิเตอร์อินพุตและเอ้าท์พุต
7. สำหรับเอาท์พุท กด  เพื่อ online พิมพ์ค่าที่ต้องการ 1หรือ 0ลงในคอลัมน์ “Modify value” แล้วกด “Enter” หลังจากนั้น กด “Modify variables” เพื่อปรับค่าเอาท์พุท (ดูรูปที่ 8.22)


รูปที่ 8.22 แสดงขั้นตอนการใช้โปรแกรมเพื่อมอนิเตอร์อินพุตและเอ้าท์พุต
8.3 การเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM
1. เปิดโปรแกรม FluidSIM และกด Play


รูปที่ 8.23 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM
2. เปิดโปรแกรม PLCSim จากโปรแกรม Simatic Manager

รูปที่ 8.24 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM
3. คลิ๊กที่ Run-P

รูปที่ 8.25 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM

4. Download HW

รูปที่ 8.26 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM
5. Download Program

รูปที่ 8.27 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM
6. เปิดโปรแกรม EzOPC

รูปที่ 8.28 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM

7. Config > Communication Setup…เลือก “Installed” ที่ PLCSIM

รูปที่ 8.29 แสดงขั้นตอนการเชื่อมต่อระหว่าง PLCSim และ FluidSIM

8.4 การสร้างสัญญาณพัลล์จาก CPU
1. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Hardware

รูปที่ 8.30 แสดงการสร้างสัญญาณพัลล์จาก CPU
2. ดับเบิ้ลคลิ๊กที่สล็อต CPU
รูปที่ 8.31 แสดงการสร้างสัญญาณพัลล์จาก CPU

3. เลือก Tab “Cycle/ Clock Memory” คลิ๊กเลือกที่ “Clock memory” เลือก Memory Byte ที่ต้องการเก็บค่า Clock Memory (ตัวอย่างเช่น 100 หมายถึง ค่า Clock memory จะถูกเก็บที่ Byte ที่ 100) หลังจากนั้น คลิ๊ก OK

รูปที่ 8.32 แสดงการสร้างสัญญาณพัลล์จาก CPU
4. Save และดาวน์โหลด Hardware ลงไปใน PLC ใหม่อีกครั้ง



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 1 พื้นฐาน PLC

บทที่ 9 คำสั่งของ STEP 7

บทที่ 7 พื้นฐานในการเขียนโปรแกรม